การใช้โปรเเกรม Geometer's Sketchpad (GSP)ในการสอนอย่างเป็นระบบ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นม.2 โดยใช้ ASSURE Model
The ASSURE Model
การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง
ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนควรจะมีการวางแผนการใช้สื่ออย่างรัดกุม และเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปฎิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจในการใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ การวางแผนการใช้สื่อการสอนโดยใช้แนวคิดของ วิธีระบบ เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้การวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ " The ASSURE Model" เป็นแบบจำลองที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ เพื่อวางแผนการใช้สื่อกสารสอนอย่างมีประสิทธิภาพ (Heinich, และคณะ)
โปรเเกรม Geometer's Sketchpad (GSP) สื่อการเรียนการสอนเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
สาระสำคัญ
การแปลงทางเรขาคณิต ( Transformation ) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงต าแหน่งของรูป
เรขาคณิตจากต าแหน่งเดิมไปยังต าแหน่งใหม่ โดยภาพที่เกิดจากการแปลงทางเรขาคณิต จะมีรูปร่าง
เหมือนรูปต้นแบบทุกประการแต่อาจจะวางในทิศทางที่แตกต่างไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการแปลง
การแปลงทางเรขาคณิต มี 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การเลื่อนขนาน ( Translation )
การเลื่อนขนานต้องมีรูปต้นแบบ ทิศทางและระยะทางที่ต้องการเลื่อนรูป การเลื่อนขนาน
เป็นการแปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดของรูปที่เกิดจากการเลื่อนรูป
ต้นแบบไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งด้วยระยะทางที่ก าหนด จุดแต่ละจุดบนรูปที่ได้จากการเลื่อน
ขนานจะห่างจากจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบเป็นระยะทางเท่ากัน
2. การสะท้อน ( Reflection )
การสะท้อนต้องมีรูปต้นแบบ เส้นสะท้อน การสะท้อนเป็นการแปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุด
ของรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดของรูปที่เกิดจากการสะท้อนรูปต้นแบบไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับ
เส้นสะท้อน จุดแต่ละจุดบนรูปที่เกิดจากการสะท้อนจะห่างจากเส้นสะท้อนเท่ากับจุดเดิมบนรูป
ต้นแบบระยะทางเท่ากัน
3. การหมุน ( Rotation )
การหมุนจะต้องมีรูปต้นแบบ จุดหมุนและขนาดของมุมที่ต้องการในรูปนั้นหมุน การ
หมุนเป็นการแปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดของรูปที่เกิดจากการหมุน โดย
ที่จุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบเคลื่อนที่รอบจุดหมุนด้วยขนาดของมุมที่ก าหนด จุดหมุนจะเป็นจุดที่
อยู่นอกรูปหรือบนรูปก็ได้ การหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกาก็ได้ โดยทั่วไป
เมื่อไม่ระบุไว้การหมุนรูปจะเป็นการหมุนทวนเข็มนาฬิกา
หัวใจสำคัญของ โปรแกรม GSP
คือ ทำให้นักเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น และเข้าใจได้เร็ว เพราะสามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation) มาใช้อธิบายเนื้อหายากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ให้นักเรียนเรียนรู้และเข้าใจง่าย อีกทั้งยังสามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน สร้างทักษะด้านจินตนาการ ช่วยเสริมสร้างกระบวนการแก้ปัญหา เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย จึงทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน ก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อครูและวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูงขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสนอวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด นับเป็นการพัฒนาในรูปแบบของพหุปัญญาทั้งทางด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านศิลปะแบบจำลอง The ASSURE Modelกับการสอนเรื่องการแปลงทางเรขาคณิตโดยโปรแกรม GSP มีรายละเอียดดังนี้
1. Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)
การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
1) ลักษณะทั่วไป เนื่องจากนักเรียนเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.2 และนักเรียนมีความสนใจเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายๆอย่าง จึงเหมาะกับการเรียนผ่านโปรแกรม GSP
2) ลักษณะเฉพาะ
2.1 ผู้เรียนมีความรู้เรื่องทิศมาจากชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และเรื่องคู่อันดับและกราฟในชั้นม.1
2.2 ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและให้เหตุผลประกอบ
2.3 ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกกับวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉาะในสาระ เรขาคณิต
2) ลักษณะเฉพาะ
2.1 ผู้เรียนมีความรู้เรื่องทิศมาจากชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และเรื่องคู่อันดับและกราฟในชั้นม.1
2.2 ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาและให้เหตุผลประกอบ
2.3 ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกกับวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉาะในสาระ เรขาคณิต
2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
1. พุทธิพิสัย
1.1) นักเรียนบอกชนิดของการแปลงทางเรขาคณิตได้
1.2) นักเรียนอธิบายลักษณะของการแปลงทางเรขาคณิตได้
2. จิตตพิสัย
2.1) นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน
2.1) นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
3. ทักษะพิสัย
3.1) นักเรียนสามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตได้
3.2) นักเรียนสามารถใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนยีในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตได้
3.3) นักเรียนสามารถให้เหตผลในการสรุปลักษณะของการแปลงทางเรขาคณิตได้อย่างเหมาะสม
3. Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่- การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
- หนังสื่อเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- คอมพิวเตอร์
- โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) Version 5
- เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
- การปรับปรุงหรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
นำเนื้อหาการสอนมาสอนโดยนำเสนอผ่านโปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ซึ่งสามารถทำให้ลักษณะการแปลงในแบบต่างๆเคลื่อนไหว เข้าใจง่ายมากขึ้น ผู้เรียนไม่ต้องนั่งจินตนาการถูกๆผิด แต่จะเห็นลักษณะการแปลงที่ชัดเจนและถูกต้อง ทั้งยังทำให้ผู้เรียนสนใจมากกว่าอธิบายตามหนังสือเรียนเพราะมีสีสันสวยงาม เคลื่อนไหวได้ไม่น่าเบื่อ
- การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
จัดทำเนื้อหาเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) แล้วใช้คอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ในชั้นเรียน ฉายการแปลงทางเรขาคณิตลักษณะต่างๆโดยให้สื่อเคลื่อนไหวได้ เพื่อให้ผู้เรียนดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น
4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ)- ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาสื่อและทดลองใช้สื่อก่อนนำมาสอน
- จัดสถานที่ ตรวจสอบความพร้อมของโปรแกรม GSP จอโปรเจคเตอร์และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
- อธิบายสิ่งที่จะสอนในคาบเรียนนี้กับผู้เรียนก่อน
- ครูเตรียมสื่อให้พร้อมต่อการเรียนการสอน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ออกมาลองใช้สื่อด้วยตัวเอง และเพื่อความเสมอภาคในชั้นเรียนครูควรแบ่งเวลาการเรียนการสอน 1 คาบเรียนพานักเรียนไปห้องศุนย์คอมพิวเตอร์เพื่อที่จะให้นักเรียนได้ลองเล่นและใช้โปรแกรม GSP ที่เกี่ยวกับเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต
การใช้สื่อในการเรียนการสอน ผู้สอนจะจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด นั่นคือการให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้สื่อด้วยตัวเองรวมไปถึงสามารถสร้างสื่อพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ซึ่งครูผู้สอนควรให้ผู้เรียนเลือกทำในเรื่องที่ตนเองสนใจ แต่ยังอยู่ในเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน ประเมินจากการเขียนสะท้อนคิดของนักเรียนท้ายบท และความถูกต้องของเนื้อหาและสื่อที่ใช้สอนเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน
การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน ประเมินจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆว่า ขัดข้องหรือมีปัญหาในส่วนใด รวมถึงความทันสมัย ความพร้อม และคำสั่งของโปรแกรมเหมาะกับผู้เรียนหรือไม่
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สื่อที่ใช้ตอบจุดประสงค์การเรียนรู้ได้อย่างตรงจุด รวมถึงสื่อมีคุณภาพเพียงพอที่จะเสริมสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง:http://52040337kanokphan.blogspot.com/2011/10/assure-model-assure-model-heinich.htmlhttp://lalita-harikan.blogspot.com/2015/09/assure-model.htmlหนังสือเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น